ทีนี้ลองมาดูกรณีตัวอย่างกันดีกว่า... นาย A : โจทก์ (ผู้ขาย) นาย B : จำเลย (ผู้ซื้อ) รู้จักตัวละครกันเเล้ว มาฟังเรื่องนี้กันเลย... นาย A ยื่นฟ้องนาย B เรื่องทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดิน
? ต่อมาครบกำหนดสัญญา B ไม่ยอมชำระเงิน A จึงทวงถามและเเจ้งให้ B ย้ายออก เเต่ B ยังเพิกเฉย A จึงเเจ้งความขอบังคับให้ B ออกไป พร้อมกับชำระค่าเสียหายตามที่ตกลงไว้ในสัญญา ? B ไม่ยอม ต่อสู้ว่าราคาที่ดินพร้อมบ้าน 2,500,000 บาท ชำระวันทำสัญญา 300,000 บาท ที่เหลือตกลงชำระ+จดทะเบียนโอนภายใน4 เมษายน 2540 โดย A ตกลงว่าจะเป็นผู้หาเเหล่งเงินกู้ให้จำเลย ? ต่อมาวันที่7 มกราคม 2540B ชำระเงินให้ A อีก 250,000 บาท เเต่ A ไม่สามารถหาเเหล่งเงินกู้ให้จำเลยได้ ในทางปฏิบัติต่อกันทั้ง A เเละ B ก็ไม่ได้ยึดกำหนดเวลาชำระหนี้ในสัญญาเป็นสำคัญ A ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยได้ A จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ขอให้ยกฟ้อง ? ศาลชั้นต้นเเละศาลอุทธรณ์พิพากษาขับไล่ B ดังนั้น B เลยยื่นฎีกา ? ศาลฎีกาวินัจฉัยว่า...ตามสัญญาจะซื้อข้อ 1 เเละ 2 ระบุว่า ผู้จะซื้อจะชำระเงินให้ผู้ขายทั้งหมด 30 กรกฎาคม 2540เเละผู้ขายจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก้ผู้ซื้อในวันเดียวกัน เเละข้อ 4 ระบุว่า ตามข้อ 1 ถ้าผู้จะซื้อผิดสัญญาไม่ไปรับโอน ให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันยกเลิก โดยผู้จะขายไม่ต้องบอกกล่าว ? ศาลเห็นว่าเมื่อ A เเละ B มีข้อกำหนดตกลงชำระหนี้นอกจากสัญญา(ตามเวลาที่บอกไว้)และ B ก็ชำระหนี้บางส่วนไปแล้ว เเสดงว่าทั้ง A และ B ไม่ได้ยึดเอากำหนดเวลาตามสัญญาเป็นสำคัญ A จึงต้องใช้สิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 (ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ และถ้าฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้) คือ A ต้องบอกให้ B ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้พอสมควร ซึ่งถ้า B ยังไม่ชำระอีก A จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ ? การที่ A บอกให้ B ออกจากบ้านภายในเดือนนี้ เเละตกลงค่าเสียหายนั้นไม่ใช่กรณีที่ A บอกให้ B ชำระหนี้ตามกฎหมายในระยะเวลาพอควร ดังนั้น A ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายกับ B เเละยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ? ศาลพิพากษากลับให้ยกฟ้องและให้ A ใช้ค่าธรรมเนียมทั้งสามศาลเเทนจำเลย