สำหรับการตรวจสอบบ้านในส่วนงานกระเบื้องไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องพื้นหรือผนัง นอกจากตัวกระเบื้องแล้วที่ต้องตรวจสอบ ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันอีกตัวหนึ่งที่จำเป็นต้องตรวจก็คือยาแนวกระเบื้อง ถ้าสังเกตที่ไหนมีกระเบื้องที่นั่นต้องมียาแนวติดตามไปเสมอๆ
สำหรับการตรวจสอบบ้านในส่วนงานกระเบื้องไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องพื้นหรือผนัง นอกจากตัวกระเบื้องแล้วที่ต้องตรวจสอบ ส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันอีกตัวหนึ่งที่จำเป็นต้องตรวจก็คือยาแนวกระเบื้อง ถ้าสังเกตที่ไหนมีกระเบื้องที่นั่นต้องมียาแนวติดตามไปเสมอๆ
1.เพราะการควบคุมการผลิตให้กระเบื้องทุกแผ่นเท่ากันเป๊ะๆ เป็นไปได้ยาก จึงอาจมีกระเบื้องที่ออกมามีความคลาดเคลื่อนได้ เช่น ขอบไม่เรียบ เอียง โก่ง ซึ่งมองด้วยตาเปล่าอาจไม่เห็น แต่หากนำมาปูเรียงชิดติดกันก็จะสังเกตได้ว่ามีร่องห่างหรือขอบไม่เสมอกันที่เห็นได้ชัด
2.การยืดขยายตัวของกระเบื้อง กระเบื้องทุกประเภทมีการยืดขยายตัวอันเนื่องมาจากอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิสูงก็จะเกิดการยืดขยายตัว ถ้าอุณหภูมิตํ่าก็จะหดตัว ถ้าหากปูกระเบื้องชิดกันแล้วกระเบื้องก็จะกระเดิด โก่งแตกออกมาได้ (ปัญหานี้ขนาดมียาแนวแล้วยังเจอกันได้บ่อยๆ)
“มีกรณีที่พบบ่อยโดยเฉพาะบ้านเก่าอาจเกิดอาการกระเบื้องเบียดกระเดิดโก่งขึ้นมา หรือบางคนเรียกว่ากระเบื้องพื้นระเบิด ส่วนใหญ่มักเกิดช่วงหน้าหนาวที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมาก ส่วนหนึ่งเกิดจากกระเบื้องขยายตัวและยาแนวที่ชิดกันมากเกินไป เรื่องยาแนวสำคัญไม่ใช่เล่นนะครับ”
ดังนั้นในการปูกระเบื้องจึงจำเป็นต้องมียาแนวเข้ามาช่วยในการลดปัญหาส่วนนี้ และเพิ่มสีสันความสวยงามให้กับพื้นหรือผนังที่เราๆ ใช้กัน ซึ่งหลายคนอาจไม่ทราบว่ายาแนวกระเบื้องมีหลายประเภทมาก ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและสถานที่ติดตั้ง เช่น
• ยาแนวทั่วไป
ส่วนใหญ่จะใช้ภายในบ้าน เช่น กระเบื้องพื้นโถงห้อง
• ยาแนวกันเชื้อรา
ตัวนี้เหมาะมากและจำเป็นสำหรับบริเวณที่มีความชื้นสูงที่เกิดเชื้อราได้ เช่น ห้องนํ้า พื้นลานซักล้าง ส่วนเปียก เพราะจะช่วยลดการเกิดเชื้อราได้ดี
• ยาแนวป้องกัน UV
ตัวนี้เหมาะกับการใช้งานภายนอกที่โดนแสงแดดประจำ เช่น กระเบื้องผนัง
• ยาแนวทนแรงดันสูง
เหมาะกับการปูกระเบื้องสระว่ายนํ้า
• ยาแนวสำหรับร่องยาแนวเล็ก
เหมาะกับการปูกระเบื้องแบบชิดมากๆ เนื้อยาแนวจะละเอียด
เหมาะกับการปูกระเบื้องแบบห่าง เนื้อยาแนวจะหยาบหน่อย
1.สียาแนว
ปกติต้องเทียบกับสีกระเบื้อง โดยสีกระเบื้องกับสียาแนวควรมีสีใกล้เคียงกัน เช่น กระเบื้องสีขาว ยาแนวก็ควรจะเป็นสีขาวหรือสีครีม ยกเว้นกรณีพิเศษที่เจ้าของบ้านหรือผู้ออกแบบต้องการให้เกิดความแปลกตา โดดเด่น ก็อีกเรื่องนะครับ
2.ขนาดร่องยาแนว
โดยทั่วไปขนาดร่องยาแนวมีขนาดประมาณ 3-5 มม. ยกเว้นกระเบื้องผนังที่อาจเหลือ 1-3 มม. แต่ที่สำคัญขนาดยาแนวจะต้องมีขนาดเท่ากันตลอดในแต่ละแผง เช่น ยาแนวกระเบื้องพื้นก็ควรมีขนาดเท่ากันทั้งหมด เพราะหากมีขนาดไม่เท่ากันแสดงว่ากระเบื้องที่ปูอาจมีการเบี้ยว เอียง ไม่ได้แนว และทำให้เกิดความไม่สวยงามได้
3.ผิวหน้ายาแนว
ส่วนนี้ก็สำคัญ ผิวหน้ายาแนวต้องเรียบเสมอกับแนวกระเบื้อง ไม่ควรจะนูนสูงหรือตํ่ากว่ากระเบื้อง เพราะหากสูงมากใช้ไปสักพักก็จะเกิดผงฝุ่นหลุดจากส่วนที่เกินออกมา แต่หากยาแนวตํ่ากว่ากระเบื้องก็จะเป็นที่เก็บสะสมของเศษสิ่งสกปรกได้
4.คราบเชื้อรา
สำหรับยาแนวกระเบื้องภายนอกที่มีความชื้น เช่น ลานซักล้าง หรือในห้องนํ้า ควรจะต้องเป็นยาแนวสำหรับป้องกันเชื้อรา ถ้ายาแนวมีคราบเชื้อรา ลักษณะเป็นคราบเก่า ด่างแสดงว่าเชื้อราขึ้น ควรแก้ไขโดยขูดออกแล้วยาแนวใหม่
เรียบเรียงจากคอลัมน์ Home Inspection ในนิตยสาร Home Buyers Guide ฉบับ ก.ย.2562
อ่านฉบับเต็มได้แล้วที่ > Home Buyers Guide SEP 2562
เรียบเรียงโดย : ศศิชา พุ่มทับทิม
อีเมล : sasicha@home.co.th
ติดตามข่าวสารอสังหาฯและข่าวดังในกระแส www.home.co.th/news
ติดตามข้อมูลโครงการและความเคลื่อนไหวด้านอสังหาฯ www.home.co.th และ www.facebook.com/Homebuyersfanpage
หรือชมวิดีโออื่นๆ คลิกที่นี่ www.home.co.th/vdo , www.youtube.com/tvhomebuyer
ขั้นตอนที่ 1 จาก 2
-