ช่วงนี้ใครกำลังมองหาคอนโดฯ เป็นที่อยู่อาศัยกันบ้าง? เชื่อว่าคงจะมีหลายคนยกมือขึ้นเเน่นอน เพราะว่าคอนโดฯ ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของที่อยู่อาศัยที่สะดวกสบาย เรื่องการดูเเล ทำความสะอาดก็น้อยกว่าบ้าน เหมาะกับคนทำงานที่ไม่ค่อยมีเวลาสักเท่าไหร่ ยิ่งยุคสมัยนี้คอนโดฯ จากหลากหลายโครงการต่างเเข่งขันเรื่องทำเลที่ตั้งให้ผู้ซื้อได้รับความสะดวกสบายสุดๆ วันนี้เราเลยมาพูดคุยเวลาซื้อขายคอนโดฯ ย่อมต้องมีการทำสัญญากันเกิดขึ้น เและส่วนนี้เป็นอีกส่วนที่สำคัญมองข้ามไม่ได้เลยนั่นก็คือ “เอกสารเเนบท้ายสัญญา”
ถ้าให้ลงลึกตามหลักกฎหมายสักหน่อยล่ะก็ สัญญาจะซื้อขายห้องชุด (อ.ช.22) เป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย ที่กำหนดให้การซื้อขายอาคารชุดนับตั้งเเต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ต้องใช้ตามสัญญานี้ และได้กำหนดข้อสัญญาไว้ค่อนข้างครอบคลุมเเละรัดกุม หนึ่งในนั้นคือเรื่องเอกสารเเนบท้ายสัญญา โดยคู่สัญญาได้ตกลงในเอกสารต่างๆ แนบท้ายสัญญาและลงนามกำกับไว้ทุกๆ หน้า ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย
? สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ในกรณีที่ผู้จะขายเป็นนิติบุคคล) และสำเนาหนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทนผู้จะขายจำนวน...แผ่น
? สำเนาโฉนดที่ดิน
? สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ อ.1) หรือสำเนาใบอนุญาตรับรองการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร (แบบ อ.6) ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
? แผนผังอาคารชุดและหลักฐานการจดทะเบียนอาคารชุด
? รายละเอียดเกี่ยวกับห้องชุด ทรัพย์ส่วนบุคคล ทรัพย์ส่วนกลาง สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อโฆษณาทั้งข้อความ และภาพโฆษณา
แล้วถ้าในกรณีที่ข้อความในเอกสารแนบท้ายสัญญาขัดหรือแย้งกับข้อความในสัญญาให้ใช้ข้อความในสัญญาบังคับ
นี่อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น อาจมีเอกสารแนบท้ายสัญญานอกเหนือจากที่กำหนดเหล่านี้ก็ได้ เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับรายการวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ หรือบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการขอสินเชื่อ หรือบันทึกข้อตกลงการคืนเงินดาวน์กรณีลูกค้ากู้ไม่ผ่าน เป็นต้น ทั้งนี้เพราะข้อตกลงต่างๆ หากไม่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นานไปก็อาจลืมและไม่สามารถนำมายืนยันได้ นอกจากนี้ทั้งหมดยังเป็นหลักฐานหากเกิดปัญหาแล้วมีเรื่องราวต้องฟ้องร้องกันอีกด้วย