
ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือ MRTA เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนซื้อบ้าน ซื้อคอนโดฯ และต้องกู้ธนาคารมักพบเจอและมีปัญหาอยู่บ่อย ๆ คำถามที่มักได้ยิน เช่น กู้ซื้อบ้าน/คอนโดฯ ต้องทำประกันหรือไม่ ? ไม่ทำได้ไหม ? รวมถึงปัญหาเรื่องเบี้ยประกันที่มีราคาสูงเกินไป! Home buyer สรุปมาให้แล้ว กับ "
เช่น ยื่นกู้ 2 ล้าน ต้องทำประกัน MRTA ในราคา 310,000 บาท หรือกู้ร่วม 2.8 ล้านต้องทำประกันทั้งสองคน ค่าเบี้ยประกันรวมกันก็ 400,000 กว่าบาท! จึงทำให้หลายคนมองว่าราคามันสูงเกินไป หรือมันคุ้มค่าจริงหรือไหม ?
1. ส่วนต่างดอกเบี้ยที่ถูกกว่า 0.25-0.50% อาจไม่ช่วยให้ประหยัด
ธนาคารมักจูงใจให้ผู้กู้ซื้อบ้านทำประกัน MRTA ด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ถูกกว่าการกู้ปกติที่ไม่ทำประกันประมาณ 0.25-0.50% โดยรวมเบี้ยประกันอยู่ในวงเงินกู้บ้านเเต่เเยกบัญชี (ซึ่งดอกเบี้ยเเพงกว่า) ดังนั้นถ้าเปรียบเทียบกันจริงๆ ดอกเบี้ยรวมที่คนกู้พ่วงประกันต้องจ่ายอาจสูงกว่าคนที่ไม่ทำประกันก็ได้
2. ประกันไม่จำเป็นต้องคุ้มครองตลอดอายุสัญญา
เนื่องจากธนาคารจะคำนวณเงินผ่อนบ้านเเต่ละงวดเผื่อไว้ (1-2% จากเงินงวดปกติ) จึงทำให้ผู้กู้สามารถผ่อนบ้านหมดเร็วกว่ากำหนดได้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องทำประกันคุ้มครองเท่าระยะเวลากู้ก็ได้ เช่น ระยะเวลากู้ 30 ปี อาจทำประกันเเค่ 15-20 ปีก็พอ ซึ่งจะทำให้เบี้ยประกันลดลง
3. ประกันคุ้มครองเเค่ 70-80% ของวงเงินกู้
ส่วนใหญ่ธนาคารจะกำหนดให้ทำประกันคุ้มครองขั้นต่ำ 70% ของวงเงินกู้ ดังนั้นเเทนที่จะทำประกันคุ้มครอง 100% เท่ากับวงเงินกู้ ก็อาจลดมาทำประกันคุ้มครองเเค่ 70-80% ของวงเงินกู้ จะช่วยประหยัดเบี้ยประกันไปได้เยอะ
4. ถ้าไม่ได้เป็นหัวหน้าครอบครัวหรือคนหาเลี้ยงครอบครัวก็ไม่จำเป็นต้องทำ
ประกัน MRTA เหมาะสำหรับผู้กู้ที่เป็นหัวหน้าหรือคนหาเลี้ยงครอบครัวมากกว่า เนื่องจากหากบุคคลเหล่านี้เสียชีวิตหรือเกิดทุพพลภาพถาวร คนที่เหลือจะได้ไม่ต้องลำบากผ่อนบ้าน เพราะประกันจะรับผิดชอบแทน เเต่ถ้าผู้กู้ไม่ได้เป็นคนหาเลี้ยงครอบครัว เเม้จะเสียชีวิตลงเเต่คิดว่าคนที่เหลือก็สามารถผ่อนต่อได้ ก็ไม่ต้องทำประกันนี้ก็ได้
5. ประกันแบบจำนวนเงินเอาประกันคงที่ VS เงินเอาประกันลดลง
เราสามารถเลือกได้ว่าจะทำประกันเเบบที่จำนวนเงินเอาประกันคงที่ ซึ่งไม่ว่าระยะเวลาจะผ่านไปเท่าใดจำนวนเงินเอาประกันก็ยังเท่าเดิม หรือการเอาประกันแบบที่จำนวนเงินเอาประกันภัยลดลงตามภาระหนี้ที่ลดลง ซึ่งแบบเเรกเบี้ยประกันจะเเพงกว่าจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม
6. ประกัน MRTA จะไม่คืนเงินเเม้คนทำประกันจะอยู่ครบสัญญาก็ตาม
ประกัน MRTA ไม่มีส่วนของการออมทรัพย์ จะไม่มีเงินคืนให้เเม้ว่าผู้เอาประกันจะมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญาก็ตาม หรือเรียกกันเล่นๆ ว่า “ประกันทิ้ง”
7. รีไฟแนนซ์ไม่ทำประกันใหม่ก็ได้
กรณีรีไฟแนนซ์ไปธนาคารอื่นโดยที่ยังเหลือวงเงินคุ้มครองอยู่สามารถเปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์เป็นธนาคารใหม่ได้ โดยไม่ต้องทำประกันใหม่ หรือจะเวนคืนเอาเงินประกันที่เหลือก็ได้
8. ต้องทำประกัน 10 ปีขึ้นไปจึงจะสามารถลดหย่อนภาษีได้
ประกัน MRTA ชนิดที่มีระยะเวลาเอาประกันตั้งเเต่ 10 ปีขึ้นไป สามารถนำค่าเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้
9. ธนาคารไม่สามารถบังคับให้ทำประกัน MRTA ได้
ตามหลักแล้วธนาคารไม่สามารถบังคับขายประกันไม่ว่าชนิดใด ดังนั้นไม่ว่าจะถูกชักจูง หว่านล้อม หรือชวนแกมบังคับให้ซื้อประกันตัวนี้ด้วยกลยุทธ์ต่างๆ ให้ระลึกเสมอว่าขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของท่านคนเดียวเท่านั้นว่าจะทำหรือไม่ทำ
10. ยกเลิก/เวนคืนได้
ประกัน MRTA สามารถยกเลิกหรือเวนคืนได้ เเละโดยทั่วไปไม่ได้กระทบเรื่องดอกเบี้ย (ปรับขึ้น) เพราะกรมธรรม์เป็นของบริษัทประกัน สินเชื่อเป็นของธนาคาร เเต่เงินเวนคืนอาจได้เเค่นิดหน่อยตามอัตราในตารางเวนคืนกรมธรรม์
ได้ข้อสรุปและคำตอบเกี่ยวกับประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA) กันไปแล้ว ทีนี้ก็เเล้วเเต่ท่านผู้อ่านแล้วล่ะว่าจะเลือกทำประกันตัวนี้หรือไม่ ? ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับตัวของผู้อ่านเท่านั้นน้า
ติดตามข่าวสารอสังหาฯและข่าวดังในกระแส www.home.co.th/news
ติดตามข้อมูลโครงการและความเคลื่อนไหวด้านอสังหาฯ www.home.co.th และ www.facebook.com/Homebuyersfanpage
หรือชมวิดีโออื่นๆ คลิกที่นี่ www.home.co.th/vdo , www.youtube.com/tvhomebuyer