ปลายปีที่เเล้วแบงก์ชาติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งเเรกในรอบ 7 ปี! ทีนี้เหล่าแบงก์พาณิชย์ก็ขานรับนโยบายปรับขึ้นตาม แม้ว่ายังเป็นเพียงการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากก็ตาม เเต่ไม่ช้าไม่นานดอกเบี้ยเงินกู้ต้องปรับขึ้นตามเเน่ๆ
ปลายปีที่เเล้วแบงก์ชาติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งเเรกในรอบ 7 ปี! ทีนี้เหล่าแบงก์พาณิชย์ก็ขานรับนโยบายปรับขึ้นตาม แม้ว่ายังเป็นเพียงการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากก็ตาม เเต่ไม่ช้าไม่นานดอกเบี้ยเงินกู้ต้องปรับขึ้นตามเเน่ๆ
อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะเงินงวดอาจเรียกเก็บเท่าเดิม การที่ดอกเบี้ยขึ้นส่งผลให้คนที่กำลังผ่อนบ้านด้วยอัตราดอกเบี้ยลอยตัวมีค่างวดเพิ่มขึ้น เช่น กู้อัตราดอกเบี้ย MRL หรืออัตราดอกเบี้ย MRR โดยทุกอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้น 1% มีผลทำให้ค่าผ่อนบ้านเพิ่มขึ้นประมาณ 7-9% (ขึ้นอยู่กับวงเงินกู้) ส่วนคนที่กู้แบบดอกเบี้ยคงที่ไม่กระทบอะไร
และอย่างที่บอกไปว่าถึงเงินงวดผ่อนบ้านจะเพิ่มขึ้น แต่ธนาคารอาจไม่ได้เรียกเก็บเงินงวดจากผู้กู้เพิ่ม เนื่องจากปกติเวลาคำนวณเงินงวด ทุกธนาคารจะคำนวณเงินงวดเผื่อไว้ในกรณีที่ดอกเบี้ยปรับขึ้นไว้เรียบร้อยเเล้ว เช่น อาจบวกไว้ที่ 1-2% แล้วเเต่ธนาคาร ดังนั้นถึงดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เงินงวดอัตราเดิมที่ยังพอจ่ายดอกเบี้ยเเละตัดเงินต้นได้ครบ จึงไม่จำเป็นต้องเรียกเก็บเงินงวดเพิ่มแต่อย่างใด
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าผลกระทบที่ตามมาหลังจากดอกเบี้ยขึ้นคือกำลังซื้อลดลง ในความหมายคือกรณีที่รายได้เท่าเดิมแต่ดอกเบี้ยขึ้น ผลก็คือทำให้วงเงินกู้ที่จะได้รับลดลง ราคาบ้านที่สามารถซื้อได้ก็อาจจะเป็นบ้านหลังเล็ก ราคาถูกลง
...แล้วจะมีวิธีการรรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร?...
เพื่อป้องกันความผันผวน (ดอกเบี้ยปรับขึ้นในอนาคต) เเละให้ดีต้องเลือกเงื่อนไขดอกเบี้ยคงที่แบบนานๆ เข้าไว้ เพราะนี้เป็นเพียงช่วงต้นของแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นเท่านั้น! ทิศทางในอนาคตอาจเพิ่มขึ้นอีกหลายปี
เเต่หลายคนคงบอกว่าธนาคารเองก็ปรับตัวไม่เหลือแล้วโปรฯ ดอกเบี้ยคงที่ 1 ปี 2 ปี อย่างมากสุดก็ 3 เดือนถึง 6 เดือน เลยขอแนะนำให้ลองไปดูตามงานมหกรรมต่างๆ ที่แบงก์มักจะจัดแข่งขันโปรฯ กัน เพราะแบงก์จะออกโปรแกรมสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษกว่าปกติเเละให้จองสิทธิไว้ก่อนได้ ถ้ามั่นใจว่าบ้านที่จะซื้อเสร็จทันก็จองสิทธิใช้สินเชื่อได้เลย
เพราะแบงก์ชาติเพิ่งปรับนโยบายเรื่อง LTV (สัดส่วนวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักทรัพย์) เรื่องกู้ 100% ลืมไปได้เลย เพราะต่อแต่นี้ไปแทบจะไม่มีเเล้ว
โดยสามารถคำนวณวงเงินกู้, อัตราผ่อน, ราคาบ้านที่ซื้อได้จากเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งหลักการง่ายๆ ก็คือผ่อนบ้านไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ และภาระผ่อนบ้านไม่ควรตึงตัวเกินไป เเละอย่าลืมมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน จะได้ไม่มีปัญหาหนี้ค้างชำระ
ส่วนใครที่กำลังอยู่ระหว่างผ่อนกับแบงก์อยู่ มีอยู่ 2 ทางเลือกที่พอจะช่วยได้ ง่ายสุดคือการทำ Retention หรือการขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับสถาบันการเงินเดิม เพื่อให้ดอกเบี้ยต่ำลง เเละอีกหนึ่งวิธีคือการ Refinance จากสถาบันการเงินเดิมไปสถาบันการเงินใหม่ที่อัตราดอกเบี้ยถูกกว่า
ข้อดีของการ Retention คือใช้จ่ายน้อยกว่า ใช้เวลาไม่นาน เเต่อัตราดอกเบี้ยจะปรับลดไม่เท่าการ Refinance ซึ่งมีโอกาสลดดอกเบี้ยได้มากกว่า เพราะเเต่ละธนาคารก็อยากได้ลูกค้าเพิ่ม เเต่แน่นอนว่าขั้นตอนนั้นยุ่งยากกว่า ค่าใช้จ่ายก็เช่นกัน
เรียบเรียงจากคอลัมน์ Special Report ในนิตยสาร Home Buyers Guide ฉบับ ม.ค.2562
สนใจติดตามเนื้อหาสามารถสั่งซื้อได้ที่นี่เลย www.home.co.th/home/bookclub
เรียบเรียงโดย : ศศิชา พุ่มทับทิม
อีเมล : sasicha@home.co.th
ติดตามข่าวสารอสังหาฯและข่าวดังในกระแส www.home.co.th/news
ติดตามข้อมูลโครงการและความเคลื่อนไหวด้านอสังหาฯ www.home.co.th และ www.facebook.com/Homebuyersfanpage
หรือชมวิดีโออื่นๆ คลิกที่นี่ www.home.co.th/vdo , www.youtube.com/tvhomebuyer
ขั้นตอนที่ 1 จาก 2
-