ทำไมเราต้องจ่ายค่าส่วนกลาง? ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ไม่ได้นะ!

ค่าส่วนกลางคืออะไร

“ค่าส่วนกลาง” คำนี้ใครจะซื้อบ้าน-คอนโดควรจำให้ขึ้นใจ เพราะเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ต่อเนื่องตั้งแต่คุณโอนฯ บ้าน-คอนโดครั้งแรกไปจนถึงวันที่คุณไม่ได้ครอบครองมันแล้ว (ขายต่อหรือตายจากทรัพย์สินนี้ไป!) 

ค่าส่วนกลาง หรือ Maintenance Fee/Common Fee หมายถึงค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการ ซึ่งจะเรียกเก็บจากเจ้าของร่วม หรือลูกบ้าน ในโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมของคุณค่ะ (ไม่มีไม่หนี ไม่จ่าย ไม่ได้นะ!) 

ทำไมเราต้องจ่ายค่าส่วนกลาง? ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ไม่ได้นะ!
ทำไมเราต้องจ่ายค่าส่วนกลาง? ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ไม่ได้นะ!

ค่าส่วนกลางแต่ละโครงการเก็บไม่เท่ากัน 

การคิดค่าส่วนกลางของแต่ละโครงการจัดสรรทั้งบ้านและคอนโดแตกต่างกันออกแบบ ตามแต่การบริหารโครงการของเจ้าของโครงการที่คิดเรทเริ่มต้นไว้ให้แล้ว (หลังจากจัดตั้งนิติบุคคลแล้วเจ้าของร่วมหรือลูกบ้านก็มีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนนิติบุคคลได้ และปรับเปลี่ยนค่าส่วนกลางได้ ตามมิติที่ประชุมของลูกบ้าน)

ปัจจัยหลักๆ ในการคิดเรทค่าส่วนกลางของแต่ละโครงการก็ คือ การบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน สภาพดี น่าอยู่ และมีมูลค่าเพิ่ม นั่นหมายความว่า หากโครงการไหนมีส่วนกลางเยอะ ค่าส่วนกลางก็จะแพงตามไปด้วยใช่ไหม?? คำตอบ คือ ใช่ค่ะ มีส่วนมากๆ คิดง่ายๆ คอนโด A ไม่มีสระว่ายน้ำ ไม่มีฟิตเนส ส่วนคอนโด B มีทั้งสระว่ายน้ำและฟิตเนส แบบจัดเต็ม ค่าการบริหารส่วนกลางของคอนโด B ก็ย่อมแพงกว่าแน่นอน….แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มีปัจจัยเรื่องจำนวนยูนิตมาเกี่ยวข้องด้วยนะ ถ้ายูนิตเยอะ คนมาช่วยจ่ายก็เยอะ (ถึงจะเก็บได้บ้างไม่ได้บ้างก็เหอะ) พอคำนวนค่าส่วนกลางออกมาก็จะไม่สูงมาก

หมายเหตุ : โครงการไหนพื้นที่ส่วนกลางเยอะ จำนวนยูนิตน้อยค่าส่วนกลางก็จะสูงกว่าโครงการที่พื้นที่ส่วนกลางน้อย และยูนิตเยอะ 

ค่าส่วนกลาง คำนวนมาจากอะไร

หลักการคิดค่าส่วนกลาง คือ การประมาณการณ์ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ดูแลรักษา เช่น ค่าจ้างนิติบุคคลฯ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าดูแลสวน ค่าดูแลสระว่ายน้ำ ค่าบำรุงรักษาลิฟท์ ฯลฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะถูกหารด้วยพื้นที่ขาย 

ทำไมเราต้องจ่ายค่าส่วนกลาง? ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ไม่ได้นะ!
ภาพส่วนกลางโครงการชวนชื่น พาร์ค ปิ่นเกล้า-กาญจนา

บ้านจัดสรร (ทาวน์โฮม, บ้านเดี่ยว, บ้านแฝด) คิดค่าส่วนกลางต่อการครอบครองที่ดิน (ตร.ว./เดือน) เช่น โครงการ A มีค่าใช้จ่ายส่วนกลาง 500,000 บาทต่อเดือน มีพื้นที่ดินสร้างบ้านขาย 30 ไร่ (12,000 ตร.ว.) ก็เท่ากับ 500,000 หารด้วย 12,000 = 42 ฉะนั้นค่าส่วนกลางเบื้องต้นโครงการ A อยู่ที่ 42 บาท/ตร.ว./เดือน ถ้าคุณซื้อบ้าน 50 ตร.ว. ก็เท่ากับ 50 คูณ 42 = 2,100 บาท/เดือน 

ทำไมเราต้องจ่ายค่าส่วนกลาง? ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ไม่ได้นะ!
ภาพส่วนกลางโครงการ Maru ลาดพร้าว 15

คอนโดมิเนียม คิดค่าส่วนกลางต่อการครอบครองพื้นที่ใช้สอยเพื่อขาย (ตร.ม./เดือน) เช่น โครงการ B มีค่าใช้จ่ายส่วนกลาง 1,000,000 บาทต่อเดือน มีพื้นที่ใช้สอยขาย 25,000 ตร.ม. ก็เท่ากับ 1,000,000 หารด้วย 25,000 = 40 บาท ฉะนั้นค่าส่วนกลางเบื้องต้นโครงการ B อยู่ที่ 40 บาท/ตร.ม./เดือน 

หมายเหตุ : การจ่ายค่าส่วนกลางของแต่ละโครงการจะเรียกเก็บในรอบที่แตกต่างกันออกไป เช่น รายเดือน/ ราย 6 เดือน/ รายปี/ ราย 3 ปี แล้วแต่การบริหารจัดการของแต่โครงการ

ค่าส่วนกลางปรับเพิ่มขึ้นได้ไหม 

ค่าส่วนกลางที่โครงการกำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มแรกมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้ตามความเหมาะสม และตามความเห็นชอบของเจ้าของร่วมในโครงการ ซึ่งต้องมีการโหวตลงคะแนนเสียงเห็นด้วยไม่น้อยกว่า 50% ของเจ้าของร่วมทั้งหมด แต่ในความเป็นจริง ปรับขึ้นค่อนข้างยาก เพราะส่วนใหญ่แล้วเจ้าของร่วมจะไม่อยากจ่ายเพิ่ม ซึ่งหากเป็นแบบนี้แล้วผลที่ตามมาก็คือ การดูแลรักษาส่วนกลางก็จะเสื่อมโทรมตามสภาพและค่าใช้จ่ายที่จำกัด ทำให้ลดมูลค่า ลดความน่าอยู่อาศัยลงไป

ทำไมเราต้องจ่ายค่าส่วนกลาง? ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ไม่ได้นะ!
ภาพส่วนกลางโครงการ Maru ลาดพร้าว 15

ไม่จ่ายค่าส่วนกลางจะมีผลอะไรไหม

(ข้อมูลจากบทความ : ค้างค่าส่วนกลาง...ปรับ-ระงับใช้สาธารณูปโภค)

1. กรณีอาคารชุดที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดไว้ก่อน พ.ศ.2551 มีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องค่าปรับและดอกเบี้ยเจ้าของห้องที่ค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางไว้จึงต้องดูจากข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดนั้นๆ ว่ากำหนดเรื่องนี้ไว้อย่างไร ซึ่งบางแห่งยังมีการเรียกเก็บค่าจดหมายทวงถาม และอัตราดอกเบี้ยทบต้น

ดังนั้นหากมีปัญหาข้อพิพาทเรื่องค่าปรับหรือดอกเบี้ยเป็นเรื่องของคู่กรณีที่ต้องให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด ซึ่งคดีความส่วนใหญ่ที่ศาลได้พิพากษาค่าปรับหรือดอกเบี้ยอันเกิดจากการค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามมาตรา 18 ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนกลางโดยจะประนีประนอมให้คิดอัตราดอกเบี้ยในการค้างชำระร้อยละ 7.5 ต่อปีตามระยะเวลาที่คงค้างจนกว่าจะชำระหนี้ทั้งหมด

ทำไมเราต้องจ่ายค่าส่วนกลาง? ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ไม่ได้นะ!
ภาพส่วนกลางโครงการ Sky ดอนเมือง-สรงประภา

2. กรณีอาคารชุดที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด 2551 มีผลบังคับใช้นับแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นมา หากเจ้าของห้องค้างชำระเงินค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ต้องปฏิบัติตามมาตรา 18/1 ซึ่งสรุปสาระสำคัญไว้ดังนี้

เจ้าของห้องไม่ชำระเงินค่าส่วนกลางภายในกำหนด ต้องเสียค่าปรับในอัตราไม่เกินร้อยละสิบสองต่อปีของจำนวนเงินที่ค้างหรือจะเก็บน้อยกว่าร้อยละสิบสองต่อปีก็ได้ โดยไม่คิดทบต้น ซึ่งนิติฯ ต้องกำหนดไว้ในข้อบังคับเจ้าของห้องค้างชำระค่าส่วนกลางตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ต้องเสียค่าปรับ โดยเก็บได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบต่อปี และอาจถูกระงับการให้บริการส่วนรวมหรือการใช้ทรัพย์ส่วนกลาง ซึ่งต้องกำหนดไว้ในข้อบังคับสำหรับนิติบุคคลบ้านจัดสรร หากสมาชิกผู้อยู่อาศัยในโครงการชำระเงินค่าส่วนกลางล่าช้า กรณีชำระรายเดือนช้ากว่ากำหนดต้องจ่ายค่าปรับตามอัตราที่คณะกรรมการจัดสรรจังหวัดกำหนด (กรุงเทพฯ กำหนด 10%) ของจำนวนเงินที่ค้างชำระ กรณีชำระล่าช้าติดต่อกัน 3 เดือน ระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิ์ในสาธารณูปโภค กรณีชำระล่าช้าติดต่อกัน 6 เดือน พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หนี้ที่ค้างชำระเป็นหนี้บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์ โดยนิติบุคคลฯ ต้องแจ้งไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัด/สาขา ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามระเบียบของกรมที่ดิน

ทำไมเราต้องจ่ายค่าส่วนกลาง? ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ไม่ได้นะ!
ภาพส่วนกลางโครงการ The City พระราม 2-พุทธบูชา

บทลงโทษที่กล่าวมาของนิติบุคคลอาคารชุดและบ้านจัดสรรจะมีความแตกต่างในทางปฏิบัติ เพราะกรณีคอนโดฯ ผู้ค้างชำระจะถูกงดจ่ายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา ทำให้ผู้อาศัยจะต้องจ่ายจึงจะได้รับบริการ เท่าที่ผ่านมาจะมีเพียงผู้ที่ซื้อไว้แต่ไม่เข้าอยู่หรือมีปัญหาไม่ผ่อนชำระสินเชื่อกับธนาคารซึ่งจะเรียกเก็บค่าส่วนกลางไม่ได้

สำหรับกรณีบ้านจัดสรรนิติบุคคลไม่สามารถงดการจ่ายกระแสไฟฟ้าหรือน้ำประปาเพราะผู้อาศัยใช้บริการ การไฟฟ้าและการประปาโดยตรง แม้จะมีการ กำหนดบทลงโทษระงับการจดทะเบียนก็ตาม เพราะการผ่อนบ้านกับธนาคารเวลานานถึง 15-25 ปี จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำนิติกรรม ส่วนใหญ่นิติบุคคลจะต้องทำการฟ้องร้องต่อศาลเท่านั้น ซึ่งเป็นการเสียค่าทนายและเสียเวลาจึงไม่คุ้มค่าที่จะฟ้องร้อง

ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่ายค่าส่วนกลางได้ไหม

ใครที่อยู่ในโครงการบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียมต่างๆ น่าจะพอมีประสบการณ์เพื่อนบ้านไม่จ่ายค่าส่วนกลางกันบ้างนะคะ ซึ่งผลของการไม่จ่ายค่าส่วนกลาง มีหลากหลายแง่มุมค่ะ 

1. โครงการขาดเงินในการบำรุงรักษา ดูแลส่วนกลาง ให้อยู่ในสภาพเหมาะสม พร้อมใช้งาน ทำให้ส่วนกลางโทรมไปตามกาลเวลา บางโครงการเคยมีสระว่ายน้ำ แต่ต้องยกเลิกการใช้สระ เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาในระยะยาว แบบนี้ก็ทำให้มูลค่าโครงการลดลงค่ะ ต้องลดจำนวนรปภ. ลง เพราะค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ ก็ส่งผลให้ความปลอดภัยในการอยู่อาศัยลดลงด้วย เป็นต้น

2. มูลค่าโครงการลดต่ำลง หากเทียบกับโครงการที่มีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ทั้งเรื่องสภาพแวดล้อม ต้นไม้ ความปลอดภัย พื้นที่ส่วนกลางอื่นๆ ซึ่งหากเป็นแบบนี้แล้ว ทำให้บรรยากาศในการอยู่อาศัยไม่น่าอยู่ ขายต่อยาก 

ทำไมเราต้องจ่ายค่าส่วนกลาง? ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ไม่ได้นะ!
ภาพส่วนกลางโครงการ Serene ราชพฤกษ์-แจ้งวัฒนะ

ก่อนซื้อคอนโดหรือบ้านจัดสรร ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าต้องจ่ายค่าส่วนกลางเพื่อดูแลรักษาพื้นที่ส่วนกลาง หากเก็บจากค่าส่วนกลางไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลต่อสภาพแวดล้อมความน่าอยู่อาศัยในโครงการที่เสื่อมโทรมลง ไม่น่าอยู่อาศัยในที่สุด มูลค่าห้องชุด และมูลค่าบ้านในโครงการของเราก็จะลดลง เพราะฉะนั้นเพื่อนๆ ควรจ่ายค่าส่วนกลางค่ะ เพื่อเราจะได้อยู่อาศัยอย่างมีความสุข ในบ้านของเราตลอดไป...

 

บทความแนะนำ

บทความที่เกี่ยวข้อง