“บันได” การก่อสร้างและตรวจสอบก่อนรับโอน

“บันได” การก่อสร้างและตรวจสอบก่อนรับโอน

จะตรวจสอบบันไดบ้านก่อนรับโอน ไม่ได้ดูเเค่ความเรียบร้อยเท่านั้นนะ เเต่ต้องดูไปถึงลักษณะการก่อสร้างและการติดตั้ง ซึ่งทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย ประเภทของบันได

? บันไดโครงสร้างคอนกรีต 

มีทั้งแบบเทคอนกรีตในที่หรือเป็นคอนกรีตสำเร็จรูปมาติดตั้งที่บ้าน จะใช้วัสดุปิดผิวเป็นกระเบื้องก็ได้ บันไดประเภทนี้จะเเข็งเเรง แน่น ไม่สั่นโยก หรือมีเสียงน่ารำคาญกวนใจ

? บันไดโครงสร้างเหล็ก

ส่วนมากจะประกอบสำเร็จรูปมาจากโรงงานเเล้วนำมาติดตั้งที่บ้าน ใช้วัสดุแปะผิวเป็นพวกไม้สำเร็จรูป เช่น ไม้จอยต์ ไม้แดง เป็นต้น บันไดประเภทนี้ติดตั้งได้เร็ว แต่ก็จะมีปัญหาเรื่องความไม่เเน่น สั่น และมีเสียงเอี๊ยดแอ๊ดได้

หลักเกณฑ์การก่อสร้างบันได

1.ขนาดลูกตั้งและลูกนอน 

ถ้าเป็นการก่อสร้างในกรุงเทพฯ ลูกตั้งต้องกว้างอย่างน้อย 22 ฌวนติเมตร ลองใช้ตลับเมตรวัดดู
ทั้งนี้หากลูกตั้งสูงเกิน 20 เซนติเมตร หรือลูกนอนกว้างน้อยกว่า 22 เซนติเมตร ลักษณะบันไดจะค่อนข้างชัน ใช้งานลำบาก และที่สำคัญความสูงและความกว้างของชั้นบันไดแต่ละขั้นควรจะมีค่าใกล้เคียงหรือเท่ากัน ไม่ควรต่างกัน เพราะจะทำให้เกิดอันตรายเวลาใช้งาน

“บันได” การก่อสร้างและตรวจสอบก่อนรับโอน

2.ความกว้างของบันได 

ข้อกำหนดกรุงเทพมหานครกำหนดความกว้างของบันไดไม้น้อยกว่า 80 เซนติเมตร ดังนั้นถ้าตรวจพบว่าบ้านเราบันไดกว้างน้อยกว่า 80 เซนติเมตร ควรทำการแก้ไข เพราะแคบกว่านี้ใช้งานลำบาก

3.กรณีบันไดสูงเกิน 3 เมตร ต้องมีชานพัก 

น้อยกว่า 3 เมตรไม่ต้องมีชานพัก เเต่ถ้ามากกว่า 3 เมตรต้องมีชานพัก เพราะถือว่าผิดกฎหมาย

4.ความสูงของราวจับ

นี่ก็สำคัญเพราะเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย ความสูงควรอยู่ประมาณ 90 เซนติเมตร ถ้าต่ำกว่านี้มากๆ เช่น 70 เซนติเมตรควรแก้ไข 

“บันได” การก่อสร้างและตรวจสอบก่อนรับโอน

? ตรวจสภาพความเรียบร้อยทางกายภาพ

เช่น บันไดเอียง บิด ไม่ได้แนวหรือไม่ ขั้นบันไดต่างๆ ขนานกัน ไม่เอียง มีขนาดเท่าๆ กันทุกขั้น สภาพผิววัสดุ ราวจับ ผิวหน้าขั้นบันไดอยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่ด่าง ไม่เยิ้ม ไม่มีปลวก เป็นต้น

? ความแน่นในการติดตั้ง

ใช้วิธีเดินเหยียบเท้าให้เต็มในเเต่ละขั้น หรือลองกระแทกด้วยส้นเท้าลงที่ขั้นบันไดว่าแน่นหรือไม่ หากกระเเทกแล้วมีอาการหลวมๆ ไม่เเน่น ให้แก้ไข เพราะถ้าใช้ไปในอนาคตจะเกิดความรำคาญมาก ส่วนของราวบันไดลองจับโยกดูว่าหลวมหรือไม่ หากโยกแล้วเอียง หลวม ก็ควรให้แก้ไขด้วย เพราะอาจเป็นอันตรายเวลาใช้งาน  

เรียบเรียงจากคอลัมน์ Home Inspection ในนิตยสาร Home Buyers Guide ฉบับมิถุนายน 2562
สนใจติดตามเนื้อหาสามารถสั่งซื้อได้ที่นี่เลย www.home.co.th/home/bookclub

เรียบเรียงโดย : ศศิชา พุ่มทับทิม
อีเมล : sasicha@home.co.th

ติดตามข่าวสารอสังหาฯและข่าวดังในกระแส www.home.co.th/news

ติดตามข้อมูลโครงการและความเคลื่อนไหวด้านอสังหาฯ www.home.co.th และ www.facebook.com/Homebuyersfanpage

หรือชมวิดีโออื่นๆ คลิกที่นี่  www.home.co.th/vdo  , www.youtube.com/tvhomebuyer

บทความแนะนำ

บทความที่เกี่ยวข้อง